วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยที่ 1
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศ
          - มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ  มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ ฯลฯ จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ตำบล เมือง และประเทศขึ้น การติดต่อในยุคแรก ๆ เป็นการบอกกันปากต่อปาก ต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่าง ๆ ซึ่งกลายมาเป็นการส่งจดหมายถึงกัน จากนั้นมีการสื่อสารกันด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีความรวดเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งอาศัยหลักวิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพ     
ประวัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information and Communication Technology : ICT กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งกำลังเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่ง คือ เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารไร้สายก็กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดการใช้งาน     ในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง เช่น การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ m-Shopping (การซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ) m-Banking (การสั่งจ่ายเงินหรือโอนเงินจากธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ) m-commerce (ธุรกิจผ่านมือถือ) เป็นต้น นอกจากนี้บริการสอบถามและแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์ซึ่งใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ที่เรียกว่าศูนย์ให้บริการ (Call Center) เป็นต้น
ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวม จัดเก็บใช้งานส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ ในการจัดการสารสนเทศได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
ความหมาที่ใช่ในชีวิตประจำวัน
-การรับรู้ข่าวสาร เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์การรับฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จากจากนั้น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัต (ตู้เอทีเอ็ม) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ไม่เฉพาะคนในเมืองเท่านั้น แม้แต่คนในชนบทก็ยังมีส่วนต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วย เช่น เมื่อไปทำบัตรประจำตัวประชาชนที่อำเภอ ทางอำเภอจะเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลกลาง ของสำนักทะเบียน กระทรวงมหาดไทยซึ่งเชื่อมเป็นเครือข่ายไปทั่วไปประเทศ สามารถเรียกดูได้ทันที เราเรียกระบบที่ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายที่สามารถใช้ทันที เช่นนี้ว่า ระบบออนไลน์ ซึ่งมีประโยชน์มาก
 กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
กระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนการเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้นมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน  ในทุกสาขาอาชีพเช่น  การสื่อสาร  การธนาคาร  

ทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคม
-เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมสารสนเทศ ซึ่งในอดีตสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกจากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตร ทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากและต้นทุนถูก จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมือง มีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมือง มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิต จนมาถึงปัจจุบันซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น มีการใช้เครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ เกิดคำใหม่ว่า “ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace)” มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน ไซเบอร์สเปซ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้าและบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดสภาพเสมือนจริงมากมาย อาทิ ห้องสมุดเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ที่ทำงานเสมือนจริง
-เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและตอบสนองตามความต้องการ ซึ่งแต่เดิมการใช้เทคโนโลยีเป็นแบบบังคับ เช่น การดูโทรทัศน์ วิทยุ เมื่อเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ จะไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้ ถ้าสถานีส่งสัญญาณใดมาก็จะต้องชม หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่ แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า on demand เช่น เมื่อต้องการชมภาพยนตร์เรื่องใดก็สามารถเลือกชมและดูได้ตั้งแต่ต้นรายการ หากจะศึกษาหรือเรียนรู้ก็มี education on demand คือสามารถเลือกเรียนตามต้องการได้ การตอบสนองตามความต้องการเป็นหนทางที่เป็นไปได้เพราะเทคโนโลยีมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าจนสามารถนำระบบสื่อสารมาตอบสนองตามความต้องการของมนุษย์ได้
-เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย อาทิ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบ Tele-education ระบบการค้าบนเครือข่าย (E-commerce) ลักษณะของการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เห็นได้จากตัวอย่างที่มีมานานแล้ว เช่น ระบบเอทีเอ็ม ทำให้การเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้าน ในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้      และเวลาใดก็ได้